22° ฮาโล, วงพาร์เฮลิค, แอนธิเลียน, โค้งวาเกนเนอร์ และ โคโรนารอบดวงอาทิตย์
ชมภาพที่บันทึกได้ทั้งหมด ที่
web page นี้ ครับ
ภาพที่ถ่ายปรากฏการณ์ทางแสง ที่เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 29 กันยายน 2551
เวลา 1:19:05 PM
แผนภาพแสดงชนิดและตำแหน่งของปรากฏการณ์ฯ ที่เกิดขึ้น
ฮาโล (Halo) :
วงกลมแสงรอบดวงอาทิตย์ ส่วนใหญ่มีสีรุ้ง แต่ในภาพเกิดไม่สมบูรณ์นัก จึงเห็นเป็นเพียงส่วนโค้ง
วงพาร์เฮลิค (Parhelic Circle) :
วงกลมแสง เส้นรอบวงด้านหนึ่งจะพาดผ่านจุดศูนย์กลางของดวงอาทิตย์
ในภาพเกิดแบบไม่สมบูรณ์เช่นกัน จึงเห็นเพียงโค้งสีขาว อยู่ถัดออกมาจากโค้งของฮาโล
โค้งวาเกนเนอร์ (Wagener Arcs) :
โค้งแสง 2 วง มีจุดตัดอยู่บนวงพาร์เฮลิค
แอนธิเลียน (Anthelion) :
จุดสว่าง อยู่บนวงพาร์เฮลิค ตรงจุดตัดของโค้งวาเกนเนอร์
ลองเปรียบเทียบดูกับภาพที่บันทึกได้ดูนะครับ
จะเห็นวงพาร์เฮลิคเข้มขึ้น และเห็นว่ามีการโค้งเข้าสู่ดวงอาทิตย์อย่างชัดเจน
เห็นโค้งวาเกนเนอร์ 2 เส้น และ แอนธิเลียน ชัดเจน
เวลาผ่านไปอีกประมาณ 9 นาที
วงพาร์เฮลิคเปลี่ยนสภาพเป็นไม่ค่อยสมบูรณ์ต่อเนื่อง และไม่เป็นวงเส้นชัดเจน
ไม่สามารถเห็นโค้งวาเกนเนอร์ 2 เส้น และ แอนธิเลียน แล้ว
วงพาร์เฮลิคตัดผ่านจุดศูนย์กลางของดวงอาทิตย์
ฮาโลเริ่มจะไม่เป็นวงกลม ดูจะค่อนไปทางวงรี นี้ เรียกว่า Uneven Halo
เกิดจากความไม่สม่ำเสมอของการกระจายตัวของผลึกน้ำแข็งในบรรยากาศนั่นเอง
วงพาร์เฮลิคตัดผ่านจุดศูนย์กลางของดวงอาทิตย์
ข้อมูลที่ใช้ในการจำลอง :
ส่วนที่ภาพจำลองเหมือนกับปรากฏการณ์จริง คือ 22° ฮาโล , วงพาร์เฮลิค, แอนธิเลียน, และ
โค้งวาเกนเนอร์
ส่วนโค้งสีรุ้งด้านล่างนั้น ไม่เห็นในปรากฏการณ์จริงครับ
ภาพสีผสมจริง ของพื้นที่ กทม. และ ชลบุรี ของวันที่ 29 กันยายน 2551
ภาพสีผสมจริง (True color composite) เป็นการนำช่วงคลื่นข้อมูล ดาวเทียมในช่วงสีน้ำเงิน เขียว และแดง ผ่านจานสีหลักเป็นสีเดียวกับช่วงคลื่นข้อมูล โดยภาพสีผสมที่ได้จะมีการสร้างสีเกือบเหมือนระดับสีจริงตามธรรมชาติ คือข้อมูลที่เป็นพืชพรรณจะปรากฏบนภาพสีผสมเป็นสีเขียวเหมือนสีพืชพรรณจริง ในที่นี้ สทอภ. ได้ประมวลผลข้อมูลให้มี Band Color Combination คือ 1,4,3
ที่มา : โครงการประมวลผลข้อมูลภาพถ่ายดาวเทียมระบบ MODIS รายวัน
Link : Kaleidoscope Sky
|
สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) - สทอภ.
All pages were created on Macintosh Computer,
using Adobe PhotoShop and BBEdit.
คำถาม? ข้อคิดเห็น! ข้อเสนอแนะ . . . ติดต่อกับเราได้ครับ
กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี - วท.
Fun Science |
กลับขึ้นข้างบน
All rights reserved.
Reproduction in whole or in part without permission is prohibited.
P i t a n S i n g h a s a n e h
ผู้เขียน : ดร. พิธาน สิงห์เสน่ห์
Writer : Dr.Pitan Singhasaneh